วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

สมาชิกในกลุ่ม

สมาชิกในกลุ่ม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1



1.นางสาวธนาวรรณ นะโรรัมย์ เลขที่ 4




2.นางสาวอนงค์นาถ แก้วกอง เลขที่ 9





3.นางสาวน้อยโหน่ง เขียวสะอาด เลขที่ 5




4.นางสาวจุฑาทิพย์ การเพียร เลขที่ 21


5.นายอนิวัติ หะทัยทาระ เลขที่ 32

อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi)







อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi)





สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในอาณาจักรฟังไจ ประกอบด้วย รา เห็ด และยีสต์


ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ


1. เซลล์เป็นแบบ Eucaryotic cell มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส


2. ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อย


3. ผนังเซลล์เป็นสารไคตินกับเซลลูโลส


4. มีทั้งเซลล์เดียวและเป็นเส้นใยเล็ก เรียกว่าไฮฟา (Hypha) รวมกลุ่ม เรียกว่าขยุ้มรา (mycelium) ลักษณะของเส้นใยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด


4.1 เส้นใยมีผนังกั้น (Septate hypha)


4.2 เส้นใยที่ไม่มีผนังกั้น (Nonseptate hypha or coencytic hypha)


ส่วนยีสต์ เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว แต่อาจมีการต่อกันเป็นสาย เรียกว่า Pseudomycelium เส้นใยของฟังไจอาจเปลี่ยนแปลงแปลงรูปร่างเพื่อทำหน้าที่พิเศษ ได้แก่
Haustorium เป็นเส้นใยที่ยื่นเข้าเซลล์โฮสต์ เพื่อดูดอาหารจากโฮสต์ พบในราที่เป็นปรสิต
Rhizoid มีลักษณะคล้ายรากพืชยื่นออกจากไมซีเลียม เพื่อยึดให้ติดกับผิวอาหารและช่วยดูดซึมอาหารด้วย เช่นราขนมปัง
การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ
1. Fragmentation เกิดจากเส้นใยหักเป็นส่วน ๆแต่ละส่วนเรียก oidia สามารถเจริญเป็นเส้นใยใหม่ได้
2. Budding การแตกหน่อ เป็นการที่เซลล์แบ่งออกเป็นหน่อขนาดเล็กและนิวเคลียสของเซลล์แม่แบ่งออกเป็นสองนิวเคลียส นิวเคลียสอันหนึ่งจะเคลื่อนย้ายไปเป็นนิวเคลียสของหน่อ เมื่อหน่อเจริญเต็มที่จะคอดเว้าขาดจากกัน หน่อที่หลุดออกมาจะเจริญต่อไปได้ เรียกหน่อที่ได้นี้ว่า Blastosporeพบการสืบพันธุ์แบบนี้ในยีสต์ทั่วไป
3. Fission การแบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วน แต่ละเซลล์จะคอดเว้าตรงกลางและหลุดออกจากกันเป็น 2 เซลล์พบในยีสต์บางชนิดเท่านั้น
4. การสร้างสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศที่พบมากที่สุด สปอร์แต่ละชนิดจะมีชื่อและวิธีสร้างที่แตกต่างกันไป เช่น
- condiospore หรือ conidia เป็นสปอร์ที่ไม่มีสิ่งหุ้ม เกิดที่ปลายเส้นใยที่ทำหน้าที่ช ูสปอร์ (conidiophore) ที่ปลายของเส้นใยจะมีเซลล์ที่เรียกว่า sterigma ทำหน้าที่สร้าง conidiaเช่น Aspergillus sp. และ Penicillium sp.
- sporangiospore เป็นสปอร์ที่เกิดจากปลายเส้นใยพองออกเป็นกระเปาะ แล้วต่อมามีผนังกั้นเกิดขึ้นภายใน กระเปาะจะมีผนังหนาและเจริญเป็นอับสปอร์ (sporangium) นิวเคลียสภายในอับสปอร์จะมีการแบ่งตัวหลาย ๆ ครั้งโดยมีส่วนของโปรโตพลาสซึมและผนังหนามาหุ้มกลายเป็นสปอร์ที่เรียกว่า sporangiospore จำนวนมากมาย 5. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีการผสมมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์และมีการรวมตัวของนิวเคลียส ซึ่งรวมแล้วเป็น diploid (2n) และมีการแบ่งตัวในขั้นตอนสุดท้ายแบบ meiosis เพื่อลดจำนวนโครโมโซมลงเป็น haploid (n) ตามเดิม
กรรมวิธีในการรวมของนิวเคลียสมี 3 ระยะ ดังนี้
1. plasmogamy เป็นระยะที่ไซโตพลาสซึมของทั้งสองเซลล์มารวมกันทำให้นิวเคลียสในแต่ละเซลล์มาอยู่รวมกันด้วย นิวเคลียสในระยะนี้มีโครโมโซมเป็น n
2. karyogamy เป็นระยะที่นิวเคลียสทั้งสองมารวมกัน ในฟังไจชั้นต่ำจะเกิดการรวมตัวของนิวเคลียสอย่างรวดเร็วในทันทีที่มีนิวเคลียสทั้งสองทั้งสองอันอยู่ในเซลล์เดียวกัน ส่วนในฟังไจชั้นสูงจะเกิดการรวมตัวของนิวเคลียสช้ามาก ทำให้เซลล์ระยะนี้มีสองนิวเคลียส เรียกว่า dikaryon
3. haploidization หรือไมโอซิส เป็นระยะที่นิวเคลียสซึ่งมีโครโมโซมเป็น 2n จะแบ่งตัวแบบไมโอซิส เพื่อลดจำนวนโครโมโซมเป็น n
การสืบพันธุ์แบบมีเพศในฟังไจแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างที่เรียกว่า gametangium ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียที่เรียกว่า gamete เข้าผสมกัน นอกจากนี้ยังพบว่าฟังไจที่มี gametangium สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียอยู่ในไมซิเลียมเดียวกันและสามารถผสมพันธุ์กันได้เรียกว่า monoecious แต่ฟังไจที่มี gametangium สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างไมซีเลียมกัน แต่ละไมซีเลียมเรียกว่า dioecious ในการสืบพันธุ์แบบมีเพศของฟังไจต่าง ๆ นี้ จะมีการสร้างสปอร์เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน สปอร์ที่ได้จากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมีขนาดเล็กและจำนวนน้อยกว่า เช่น ascospore basidiospore zygospore และ oospore สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 4 ไฟลัม คือ



ความสำคัญและการใช้ประโยชน์ของฟังไจในด้านต่างๆ

ความสำคัญและการใช้ประโยชน์ของฟังไจในด้านต่างๆ





• บทบาทของฟังไจในระบบนิเวศ



ผู้ย่อยสลาย



เห็ดเจริญบนขอนไม้





ราดำบนขนมปัง








• ฟังไจก่อโรค

ฟังไจก่อโรคในพืช















• ฟังไจสมุนไพร














• ประโยชน์ของฟังไจในอุตสาหกรรม






อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์







ถังหมักเบียร์










อุตสาหกรรมอาหาร





ผลิตภัณฑ์ซีอิ๊ว ผลิตภัณฑ์เต้าเจี้ยว



การสืบพันธุ์ ของฟังไจ

การสืบพันธุ์ ของฟังไจ



การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction)

ฟังไจมีการสืบพันธุ์ทั้งแบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ ฟังไจสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการสร้างสปอร์ ซึ่งมีหลายรูปแบบขึ้นกับชนิดของเชื้อและสภาพแวดล้อม แบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
• สปอร์ที่สร้างขึ้นมาจากเส้นใยโดยตรง เช่น อาร์โธรสปอร์ (arthrospore) และคลาไมโด-สปอร์ ( chlamydospore) อาร์โธรสปอร์พบในฟังไจชั้นสูงหลายชนิด โดยจะเกิด septum มากั้นส่วนปลายของเส้นใย ทำให้เส้นใยส่วนนั้นหลุดได้เป็นท่อน ๆ เรียกแต่ละท่อนว่า arthrospore สปอร์ชนิดนี้ถ้าสร้างในฟังไจชั้นสูงจะเรียกว่า arthroconidium คลาไมโดสปอร์พบในฟังไจทั่วไปเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยจะเกิดขึ้นจากเซลล์ปกติในบริเว
ณใดบริเวณหนึ่งของเส้นใย และจะมีผนังที่หนาจึงช่วยให้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี

อาร์โธรสปอร์




• สปอร์ที่สร้างในโครงสร้างพิเศษและพบในฟังไจชั้นต่ำ เช่น สปอแรนจิโอสปอร์ (sporangiospore) เกิดภายในถุงสปอแรนเจียม (sporangium) ตัวอย่างฟังไจที่สร้างสปอแรนจิโอสปอร์ ได้แก่ ฟังไจในไฟลัมไซโกไมโคตา (Phylum Zygomycota ) เช่น ราดำขนมปัง ( Rhizopus )



สปอแรนจิโอสปอร์






ฟังไจชั้นต่ำบางไฟลัมและฟังไจเทียมสร้างสปอร์ที่มี flagellum ซึ่งจะช่วยให้เคลื่อนที่ในน้ำได้ เรียกสปอร์นั้นว่าซูสปอร์ (zoospore) ตัวอย่างฟังไจที่สร้างซูสปอร์ ได้แก่ ฟังไจแท้ในไฟลัม ไคตริดิโอไมโคตา และฟังไจเทียมในอาณาจักรสตรามีโนพิลา และโปรติสตา









ซูสปอร์








• โคนิเดียม (conidium; พหูพจน์ = conidia) เป็นสปอร์ที่เกิดขึ้นแบบไม่อาศัยเพศในฟังไจชั้นสูง โดยจะสร้างบนเส้นใยปกติ หรือบนเส้นใยพิเศษที่เรียกโคนิดิโอฟอร์ (conidiophore) ราบางชนิดมีโครงสร้างพิเศษที่ทำหน้าที่สร้างสปอร์โดยเฉพาะ เรียกโครงสร้างนั้นว่า asexual fruiting body มีรูปร่างหลายแบบ และมีชื่อเฉพาะสำหรับรูปร่างแต่ละแบบ แบบที่มีรูปร่างคล้ายจานเรียกว่า acervulus แบบที่คล้ายคนโฑเรียกว่า pycnidium แบบที่มีรูปร่างคล้ายหมอนอิง (หรือเบาะรองนั่ง) เรียกว่า sporodochium และแบบที่คล้ายช่อดอกไม้เรียกว่า synnema









โคนิเดีย








การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction)



นอกจากจะมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศแล้ว ฟังไจยังมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วย การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเกิดขึ้นยากกว่าการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และต้องการปัจจัยจำเพาะสูง เช่น อาจต้องการสารอาหาร แร่ธาตุ หรือวิตามินบางอย่างเป็นพิเศษนอกเหนือจากชนิดที่ต้องการในระยะเจริญของเส้นใย ความเป็นกรด- ด่างของอาหาร และอุณหภูมิที่เหมาะสมอาจต้องอยู่ในช่วงจำกัดกว่าเดิม ฟังไจบางชนิด แต่ละโคโลนีสามารถสร้างสปอร์แบบอาศัยเพศได้เอง แต่บางชนิดอาจต้องจับคู่กับเส้นใยหรือสปอร์ของโคโลนีอื่นก่อน จึงจะสามารถเกิดการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ สปอร์ที่เกิดแบบอาศัยเพศของ pseudofungi พวก oomycetes เรียกว่าโอโอสปอร์ (oospore) สปอร์ที่เกิดแบบอาศัยเพศของ true fungi พวก zygomycetes เรียกว่าไซโกสปอร์ (zygospore) สปอร์ที่เกิดแบบอาศัยเพศของ true fungi พวก ascomycetes เรียกว่าแอสโคสปอร์ (ascospore) และสปอร์ที่เกิดแบบอาศัยเพศของ true fungi พวก basidiomycetes เรียกว่าเบสิดิโอสปอร์ (basidiospore)




โอโอสปอร์



ไฟลัมแอสโคไมโคตา ( Phylum Ascomycota)

ไฟลัมแอสโคไมโคตา ( Phylum Ascomycota)





ลักษณะ
1. เซลล์เดียว ได้แก่ ยีสต์ นอกนั้นเป็นพวกมีเส้นใยมีผนังกั้นและเป็นราคล้ายถ้วย (cup fungi)
2. ดำรงชีวิตบนบก
3. การสืบพันธุ์ - แบบไม่อาศัยเพศ สร้างสปอร์เรียกว่า conidia ที่ปลายไฮฟา ส่วนยีสต์จะแตกหน่อ - แบบอาศัยเพศ สร้างสปอร์ ที่มีชื่อว่า ascospore อยู่ในถุงเรียกว่า ascus


ประโยชน์
1. Saccharomyces cerevisiae ใช้ผลิตแอลกอฮอล์ และมีโปรตีนสูง
2. Monascus sp. ใช้ผลิตข้าวแดงและเต้าหู้ยี้


โทษ
เกิดโรคกับคนและสัตว์

ไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา ( Phylum Basidiomycota)

ไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา ( Phylum Basidiomycota)









ลักษณะ
1. เส้นใยมีผนังกั้นและรวมตัวอัดแน่นเป็นแท่งคล้ายลำต้น เช่น ดอกเห็ด
2. การสืบพันธุ์ - แบบไม่อาศัยเพศ สร้างสปอร์เรียกว่า codiospore ใน conidia - แบบอาศัยเพศ สร้างสปอร์ที่สร้างโดยอาศัยเพศสร้างบนอวัยวะคล้ายกระบองหรือเบสิเดียม (basidium) เรียกว่า แบสิดิโอสปอร์ (basidiospore)


ประโยชน์
ใช้เป็นแหล่งอาหาร


โทษ
1. ทำให้เกิดโรคในพืช เช่น ราสนิม ราเขม่า
2. เห็ดรา มีสารพิษเข้าทำลายระบบประสาท ทางเดินอาหาร ตับ หัวใจ

ไฟลัมดิวเทดโรไมโคตา ( Phylum Deuteromycota)

ไฟลัมดิวเทดโรไมโคตา ( Phylum Deuteromycota)












ลักษณะ
1. เส้นใยมีผนังกั้น
2. สืบพันธุ์ไม่แบบอาศัยเพศเท่านั้น โดยสร้างสปอร์ที่เรียกว่า โคนิเดีย (conidia) จึงเรียกราในกลุ่มนี้ว่า Fungi Imperfecti
3. แต่หากเมื่อใดมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจะไปอยู่ใน Ascomycetes และ Basidiomycetes



ประโยชน์
1. Penicillium chrysogernum ใช้ผลิตยาปฏิชีวนะเพนิซิลลิน


2. Aspergillus wendtii ใช้ผลิตเต้าเจี้ยว


3. A. oryzae ใช้ผลิตเหล้าสาเก




โทษ
1. ทำให้เกิดโรคในพืช
2. สร้างสารพิษ ทำให้เกิดโรค
3. ทำให้เกิดโรคในคน เช่น กลาก เกลื้อน โรคเท้าเปื่อยหรือฮ่องกงฟุต